skip to main
|
skip to sidebar
รูปน่ารัก
วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2550
ดีใจที่สุดที่ได้เรียนวิชาการสร้างสื่อการเรียนนการสอน
ทำให้หนูได้เกิดการเรียนรู้ด้วยนเองและทำให้มีประสบกรณ์มากขึ้น
และการเรียนที่ดีนั่นเป็นการที่เราได้ฝึกประสบการณ์ด้วยนเองค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
บทความใหม่กว่า
บทความที่เก่ากว่า
หน้าแรก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ประวัติส่วนตัวของฉัน
ชื่อ นางสาวศิริพร ปานกลาง เอกคอมพิวเตอร์ศึกษาปีที่ 3 รหัส 494146026 มีพี่น้อง 4 คนฉันเองเป็นคนสุดท้อง มีความภูมิใจยิ่งที่ได้เรียนในสถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงแห่งนี้ค่ะ
****.......ลูกใครหว้าน่ารักจัง......****
หลักการเลือกและการใช้สื่อการเรียนการสอน
หลักการเลือกและการใช้สื่อการเรียนการสอน
1. ใช้สื่อการสอนในขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ทั้งนี้เพื่อเร้าผู้เรียนให้เกิดความสนใจ และเปลี่ยนพฤติกรรมในเบื้องต้น โดยปรับตนเองให้พร้อมที่จะเรียนรู้บทเรียนใหม่ ซึ่งอาจกระทำได้โดยการรื้อฟื้นความรู้เดิม (assimilation) หรือขยายความรู้เดิม (accommodation) เพื่อนำมาใช้ให้ประสานกันกับความรู้ใหม่ ซึ่งจะเรียนในขั้นต่อไป
2. ใช้สื่อการสอนในขั้นประกอบการสอนหรือขั้นดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อช่วยให้ความกระจ่างในเนื้อหาที่เรียนหรือทำให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้ง่ายขึ้นและเข้าใจข้อเท็จจริงในเนื้อหาอย่างแท้จริงในรูปของการเกิด Concept เข้าใจหลักการสำคัญ และมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในแนวทางที่ดีขึ้นตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ได้กำหนดไว้
3. ใช้สื่อการสอนเพื่อขยายขอบเขตความรู้ของผู้เรียนให้ก้าวหน้าและเจริญงอกงามทั้งในด้านความกว้างและความลึกของภูมิปัญญา ซึ่งเป็นผลของการเรียนอย่างแท้จริง
4. ใช้สื่อการสอนเพื่อย่อสรุปเนื้อหาสำคัญของบทเรียนเกิดเป็น Concept ในเนื้อหาแต่ละเรื่อง
ใช้สื่อการสอนเพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้มีการฝึกและพัฒนาตนเองให้รู้จักขั้นตอนและมีความคิดสร้างสรรค์ (Control and Creativity)
สื่อกราฟิก
กราฟิก
เป็นการเรียกตามคำภาษาอังกฤษว่า Graphic ซึ่งก็จะหมายถึง ลายเส้นที่ตาเราสัมผัสได้ตามหลักการเกี่ยวกับการรับรู้ของร่างกายมนุษย์เป็นที่ยอมรับแล้วว่าในสัมผัสทั้ง 5 ช่องทางนั้น การรับรู้ทางตาเป็นช่องทางที่ร่างกายจะรับรู้ได้มากกว่าทางหู ทางจมูก ทางลิ้น และกายสัมผัส เส้นเป็นรากฐานของภาพที่มีปรากฏอย่างมากมาย เช่น เราลากเส้น จะเกิดเป็นตัวอักษร เป็น
แผนภาพ
แผนภูมิไ
ด้ และในเส้นนั้นเองสามารถปรับเปลี่ยนทั้งขนาด สี ทำให้เกิดความเข้ม ความสว่าง ในรูปของแสง สี และเงาได้ การผสมผสานของลายเส้นในรูปแบบต่างๆ ทำให้เกิดงานที่เป็นสื่อกราฟิกที่สามารถถ่ายทอดสาระความรู้ในกระบวนการสื่อสารได้อย่างกว้างขวาง เช่น แถบสี ที่แทนความเป็นชาติที่ทุกคนเข้าใจเหมือนกันเทคนิคตัวอักษรและการจัดองค์ประกอบที่เหมาะสมทำให้เกิดความหมายที่เข้าใจตรงกันสามารถชักชวนให้คนไปชมงานแสดงได้ ภาพตราสัญลักษณ์ที่แตกต่างกันเพื่อบอกให้คนทั่วไปรู้ว่าเป็น องค์กร สถาบันการศึกษา หรือบริษัท ห้างร้าน
ตัวอย่างภาพตราสัญลักษณ์
ตัวอย่างภาพตราสัญลักษณ์
สื่อกราฟิกกับการเรียนการสอน
แผนผังการจัดพื้นที่แสดงนิทรรศการ
จากสภาพของการศึกษาในระบบทั่วๆ ไป มีสื่อกราฟิกเป็นสื่อพื้นฐานเหมือนกันในทุกแห่งทั่วโลก คือ เริ่มจากตัวอักษรของภาษาในรูปของตำรา หรือหนังสือนั่นเอง ในกิจกรรมการเรียนการสอนจึงมีความจำเป็นต้องใช้สื่อกราฟิกตลอดเวลา เช่น
-
การใช้ข้อความสั้นๆ "ห้ามเข้า" ให้ผู้ใช้อาคารปฏิบัติตามความมุ่งหมายของกิจกรรมขณะนั้น
-
การใช้สัญลักษณ์ "ลูกศร" เพื่อสื่อให้นักเรียนเดินไปตามทางบังคับ
-
การใช้ "ป้ายชื่อ" วางไว้หน้าโต๊ะอภิปราย เพื่อแนะนำตัวของสมาชิกหรือวิทยากร
-
การใช้ "แผนผัง" แสดงตำแหน่งที่ตั้งของอาคารเรียน และอาคารกิจกรรม
-
การใช้ "สีสะท้อนแสง" เพื่อบอกตำแหน่งของจุดปิดเปิดประตูทางเข้าออกห้องเรียนสื่อกราฟิกกับการศึกษาตลอดชีวิต
สัญลักษณ์เพื่อสื่อความหมายกับทุกคน
ในสภาพของการดำรงอยู่ของทุกชีวิต ทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม จึงเกิดการสื่อสารกันระหว่างคนในสังคมรอบข้างตลอดเวลา การใช้สื่อ
กราฟิก
ที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้วิถีชีวิตคนในสังคมเป็นไปอย่างเป็นระบบ หน่วยงาน หรือการจัดการขององค์กรก็จะดำเนินไปได้โดยปราศจากความสับสนวุ่นวาย เช่น
-
ฝ่ายจัดการจราจร ใช้ "สัญลักษณ์แถบสีขาวสลับดำ" เป็นการบอกตำแหน่งทางข้ามถนน เกิดความเข้าใจตรงกันระหว่างผู้ใช้รถและคนเดินถนน
-
โรงพยาบาลใช้ลูกศรที่เป็นแถบสี เป็นตัวชี้นำให้ผู้เข้ามาใช้บริการเดินไปสู่จุดที่ต้องการรับบริการได้
-
บริษัทห้างร้าน กำหนดตราสัญลักษณ์บนผลิตภัณฑ์ที่ตรึงผู้พบเห็น ทำให้ผู้รับรู้จัก สินค้า และมีผลต่อการขายต่อไปได้
-
องค์กรที่ควบคุมมาตรฐานความปลอดภัยของสินค้าใช้ตราสัญลักษณ์ปิดประกาศขายสินค้า ให้ผู้บริโภครับรู้ถึงการรับรองคุณภาพ
ตราสัญลักษณ์ของสายการบิน
แหล่งวิทยาการ 1. หนังสือ/บทความ
กิดานันท์ มลิทอง. 2540. เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. 374 หน้า.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2534. เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หน่วยที่ 1-5. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, กรุงเทพฯ. 284 หน้า. 2. สื่ออื่นๆ
2.1 โฮมเพจชุดวิชาเทคโนโลยีการศึกษาเบื้องต้น เรื่อง สื่อกราฟิก
2.2 บทความ/ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ เรื่อง สื่อกราฟิก
2.3 การให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์
การสร้างสื่อราคาเยา (Low Cost Materials)
การสร้างสื่อราคาเยา (Low Cost Materials)
แนวคิดทางการศึกษา ปัจจุบันมุ่งขยายขอบเขตทรัพยากรการเรียนรู้ออกไปทุกแบบ เช่น สื่อเกี่ยวกับบุคคล อาคาร สถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนวิธีการต่าง ๆ ทางการศึกษา เกี่ยวกับวัสดุที่จะใช้เป็นการเรียนการสอนนั้น จึงมิได้จำกัดอยู่เพียง สิ่งที่ทำขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อโดยตรงเท่านั้น แต่วัสดุการสอน หมายถึง วัสดุทุกสิ่งทุกอย่างที่ ครูพึงหามาใช้ ประกอบการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่หามาได้ง่ายในท้องถิ่น ซึ่งครู ผู้สอนส่วนหนึ่งมักมองข้ามไป เมือนึกถึงวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการสอนสักเรื่องหนึ่ง ก็มักจะนึกถึงสื่อสำเร็จรูปจำพวกรูปภาพ แผนภูมิ สไลด์ ที่มีผลิตขาย ราคาค่อนข้างสูง
ข้อสนับสนุนการใช้สื่อราคาเยา
1.ความจำเป็นของเศรษฐกิจของชาติ
ในข้อนี้นักศึกษาและครูผู้สอนผู้บริหารการศึกษา ย่อมทราบและตระหนักอยู่แล้วว่า ประเทศของเรากำลังพัฒนา หลาย ๆ ด้าน โดยอย่างยิ่ง การใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการลงทุน เพื่อการพัฒนา ประเทศอุตสาห์กรรมใหม่ ต้องกู้เงินจากต่างประเทศ เป็นจำนวนเงินมหาศาล ในด้านการศึกษามีดโครงการ กู้เงินจากต่างประเทศ เป็นจำนวนไม่น้อย ดังนั้น การพิจารณาจัดหาสื่อหรือเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ จึงควร คำนึงเรื่องการประหยัดไว้ให้มาก
1.ฐานะการเงินของโรงเรียน
การพัฒนาด้านเทคโนโลยีด้านการศึกษาได้ก่อให้เกิดสิ่งประดิษฐ์ในรูปวัสดุเครี่องมือประกอบการสอนใหม่ ๆ อย่าง มากมาย เป็นที่สนใจของครูผู้สอนและผู้บริหารการศึกษา มีความพยายามที่จะจัดซื้อ หาเทคโนโลยีหลายรูปแบบก่อให้เกิดปัญหา ทั้งในโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีงบประมาณมาก และโรงเรียนขนาดเล็กมีงบจำนวนที่จำกัด
ในโรงเรียนขนาดใหญ่มีงบมากพอที่จะจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์แต่เทคโนโลยีด้านวัสดุมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทำให้โรงเรียนยังเห็นว่าขาดวัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลาทำให้ไม่เพียงพอสำหรับการจัดซื้ออุปกรณ์บางอย่าง โรงเรียนบางแห่งก็มีวิธีการหาเงินมาจัดซื้อเช่นการบริจาคของผู้ปกครอง
โรงเรียนขนาดเล็กก็มีงบจำกัด บางแห่งขาดการวางแผนการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ เมื่อซื้อมาแล้ว ใช้ไม่คุ้มค่า เก็บไว้นานก็เสื่อมสภาพดูแลไม่ถูกวิธี
3. วัสดุอุปกรณ์สำเร็จรูปมีราคาสูง
ตัวอย่างราคาวัสดุอุปกรณ์ในปี 2537 ราคาสไลด์ 2x2 นิ้ว จำนวน 30 ภาพ ราคาในประเทศไทย 400-600 บาท ถ้าจากต่างประเทศ ราคาเพิ่มเป็นเท่าตัว แม้ว่าครูผู้สอนจะสามารถผลิตสไลด์ได้เอง ค่าใช้จ่ายก็ยังใกล้เคียงที่ซื้อสำเร็จรูปเนื่องจากวัตถุดิบมีราคาสูง เมื่อเป็นเช่นนี้ เราควรพิจารณาสื่อราคาเยาที่สามารถผลิตหรือหาได้ง่ายจากท้องถิ่น
4. สื่อสำเร็จรูปไม่สอดคล้องกับสภาพชีวิตและสังคม
สื่อสำเร็จรูปที่ผลิตและจำหน่าย อาจใช้วิธีการที่สื่อความหมาย บนพื้นฐานของประเพณี ทางกายภาพที่แตกต่างไป จากสภาพชีวิตและสังคมของนักเรียนในห้อง สื่อความหมายอาจไม่ได้ผลเท่าที่ควร เช่นการใช้ภาพยนต์ การศึกษาที่ผลิตจากต่างประเทศ
5. คุณสมบัติของสื่อ ที่จะส่งผลต่อการเรียนรู้
สื่อสำเร็จรูปทั้งหลาย เป็นเพียงประสบการณ์จำลอง คุณค่าทางด้านการเรียนจึงมีข้อจำกัด สื่อราคาเยาที่หาได้ในท้องถิ่น นั้น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์จริง อย่างกว้างขวาง มีโอกาสที่จะใช้สื่อเป็นของจริงมากขึ้น
จิตวิทยาการรับรู้ (Perception)
จิตวิทยาการรับรู้ (Perception)
การรับรู้ เป็นเหตการณ์ความรู้สึกที่เป็นผลจากกิจกรรมของเซลล์ประสาทสมอง เป็นลักษณะหนึ่งของจิต ไม่ใช่จิตทั้งหมด จัดเป็นประเภทอสสาร สามารถ Observe หรือ Experienceได้ด้วยวิธีพินิจภายใน(Introspection)
การรับรู้ หมายถึง การรู้สึกสัมผัสที่ได้รับการตีความให้เกิดความหมายแล้ว เช่นในขณะนี้ เราอยู่ในภาวะการรู้สึก(Conscious) คือลืมตาตื่นอยู่ ในทันใดนั้น เรารู้สึกได้ยินเสียงดังปังมาแต่ไกล(การรู้สึกสัมผัส-Sensation) แต่เราไม่รู้ความหมายคือไม่รู้ว่าเป็นเสียงอะไร เราจึงยังไม่เกิดการรับรู้ แต่ครู่ต่อมามีคนบอกว่าเป็นเสียงระเบิดของยางรถยนต์ เราจึงเกิดการรู้ความหมายของการรู้สึกสัมผัสนั้น ดังนี้เรียกว่าเราเกิดการรับรู้
เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นในเสี้ยววินาที คนทั่วไปจะแยกไม่ออก ผมเองก็แยกไม่ออก แต่ผมใช้เหตุผลมาแยกขั้นตอนการเกิดออกได้ คือ เพราะว่าเราอยู่ในภาวะการรู้สึก ดังนั้นเราจึงรู้สึกสัมผัส และเพราะว่าเรารู้สึกสัมผัส ดังนั้นเราจึงรู้ความหมาย เป็นไปไม่ได้ที่เราจะรู้สึกสัมผัสก่อนการรู้สึก และเป็นไปไม่ได้ที่เราจะตีความเสียงดังปังก่อนการรู้สึกสัมผัส ดังนั้นมันจะต้องเกิดเป็นขั้นๆ นับจากขั้นการรู้สึก การรู้สึกสัมผัส การตีความให้รู้ความหมาย อย่างแน่นอน
ถ้าเราวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้จะได้ดังนี้ คลื่นเสียงเดินทางเข้ากระตุ้นที่หู แล้วเกิดการเปลี่ยนคลื่นเสียงเป็นกระแสประสาท จากนั้นจึงเดินทางต่อไปจนถึงแดนการรู้สึกได้ยินคือ Auditory cortex ที่สมองบริเวณขมับ กระบวนการทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเหตุการณ์ทางกาย ทางวัตถุ หรือทางสสาร แต่ในทันใดนั้น การรู้สึกได้ยินเสียงก็เกิดขึ้น(การรู้สึกสัมผัส-sensation) กระแสประสาทจากนิวโรนกลุ่มนั้นจะกระตุ้นนิวโรนข้างเคียงต่อๆกันไปเรื่อยๆ จนอ่อนกำลัง เมื่อนิวโรนข้างเคียงได้รับการกระตุ้น (กาย) ความรู้สึก(จิต)ก็เกิดขึ้นด้วยควบคู่กัน แต่ความรู้สึกในคราวนี้เรียกว่า การระลึก(Recall หรือ Retrieval) ผลจากการระลึกนี้จะโยงสัมพันธ์กับการรู้สึกสัมผัสที่เกิดอยู่ก่อนแล้วนั้น ทำให้เกิดการรู้ความหมายขึ้น เรียกว่า การรับรู้
การรับรู้เป็นเหตุการณ์ทางจิต เกิดจากกิจกรรมของกลุ่มนิวโรน มันจึงต้องเกิดขึ้นในสมอง เพราะนิวโรนเป็นเซลล์ประสาทที่รวมตัวกันเป็นก้อนสมอง ในเมื่อมันอยู่ในสมอง เราจึงดูด้วยตาไม่เห็น แลแม้ว่าเราจะเปิดกระโหลกเข้าไปดูสมองได้ แต่เราก็จะไม่เห็น ความรู้สึกได้ยินเสียง นั้นเลย เพราะมันเป็นอสสาร ไม่มีทางที่เราจะมองเห็นการรู้สึกเจ็บ การรู้สึกรัก ฯลฯ วิ่งไปมาอยู่ในสมองได้เลย ดังนั้น เราต้อง เดา เอาเอง การเดาเอาเองนี้เรียกให้ไพเราะขึ้นก็ว่า เราสันนิษฐาน และผลของการสันนิษฐาน เราเรียกว่าภาวสันนิษฐาน หรือ Construct ที่ได้กล่าวให้ท่านหูอื้อเล่นมาแล้วในเรื่อง Concept นั่นก็คือ การรู้สึกสัมผัสก็ดี การรับรู้ก็ดี เป็น Construct และด้วยเหตุที่มันเป็นผลของกิจกรรมของกลุ่มนิวโรน มันจึงต้องโยงสัมพันธ์กับกลุ่มนิวโรนนั้นๆ ถ้าสักวันหนึ่งเราสามารถมองเห็นกิจกรรมของกลุ่มนิวโรนนั้นๆ(วัตถุ)ที่เกิดควบคู่กับความรู้สึกนั้นๆ(จิต) แล้ว ภาวสันนิษฐานนั้นก็เป็นของจริง(Entity/Fact)
การรู้สึก การรู้สึกสัมผัส การรับรู้ ต่างก็เป็น ชื่อ ของภาวสันนิษฐาน มันต่างก็เป็นลักษณะหนึ่งของจิตในจำนวนลักษณะของจิตที่มีอยู่มากมาย ภาวสันนิษฐานเหล่านี้ครั้งหนึ่งเคยถูกปฏิเสธจากกลุ่มพฤติกรรมนิยมแบบ Radical ยังผลให้การวิจัยเรื่องจิตเงียบหายไปราว 60 ปี บัดนี้เราได้เข้าไปศึกษาจิตอีกครั้งหนึ่ง ด้วยความสนุกสนานมากกว่าเดิม และรวดเร็ว เพราะได้ยืมเครื่องมือสำคัญของ Behaviorism มาใช้ คือ Scientific Method หรือ Empirical Research ภายใต้ธงที่ชื่อ COGNITIVE PSYCHOLOGY
นิยาม.. รักแท้
นิยาม.. รักแท้
วัยและประสบการณ์ทำให้คนมีนิยามของ "รักแท้" แตกต่างกันไป บางคนก็ว่ารักแท้ไม่เคยอาศัยอยู่บนโลกมนุษย์ บางคนก็ว่ารักแท้คือรักที่กำลังรักอยู่ยามนี้ บางคนก็ว่ารักแท้หาเอาได้ตามเตียงทุกเตียง แต่มีนักจิตวิทยาได้ให้องค์ประกอบของรักแท้ สำหรับให้คนพิสูจน์ความรักหนนั้นของตนว่า มันเป็นรักแท้ขนานแท้รักแท้แบบปลอมปนหรือท้รักที่ปลอมสนิท
1. ต้องมีความรู้สึกได้สัมผัสกับความสุขร่วมกับคนๆ นั้น เมื่ออยู่ด้วยกันก็จะมีความสุขมาก ไม่เคยเบื่อที่มีเขาอยู่ใกล้ๆ และเมื่อยามที่เขาห่างไกลไม่ได้เห็นหน้า ก็จะรู้สึกเหงาๆ และคิดถึง ไม่ใช่พอเขาหันหลังให้ ยังเห็นชายเสื้อแว้บๆ ก็แทบจะตีปีกโลดเต้นดีใจ
2. ต้องให้ความเคารพนับถือคนๆ นั้น ถ้าจะรักใครสักคน แล้วตั้งหน้าดูถูกไม่เคยให้ความเคารพใครอื่นจะเคารพคนๆ นั้นของเรา และการที่ได้รักใคร่กับคนที่ใครๆเขาดูถูก มันจะเหลือความภูมิใจใน คนๆ นั้นสำหรับเราได้ยังไง
3. ต้องรู้สึกว่าคนๆ นั้นเป็นที่พึ่งได้ เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ขึ้นในชีวิต ก็มั่นใจว่าเขาจะอยู่เคียงข้างเพื่อคอยช่วยเหลือ ไม่ใช่ว่าเรากำลังจะตกตึกอยู่รอมร่อ ก็ไม่ยื่นมือเข้ามาช่วยฉุด
4. ต้องเชื่อมั่นว่าถ้ามีปัญหาใดๆเกิดขึ้น ไม่ว่าจะรุนแรงแค่ไหน สัมพันธภาพก็ยังคงดำเนินต่อไปเพราะคนเราย่อมผิดพลาดกันได้ ถ้ารู้จักอภัยกันมันก็อยู่กันทน ไม่ใช่ผิดหนเดียวก็ถีบส่ง
5. ต้องเข้าถึงความต้องการ อารมณ์ และความรู้สึกของคนๆ นั้น อย่างถ้ารู้ว่าชอบจะอยู่คนเดียวตามลำพังบ้าง ก็ควรเปิดโอกาสได้อยู่กับตัวเองด้วยความเต็มใจ ไม่ใช่เปิดโอกาอย่างกระเง้ากระงอดื่
6. ต้องมีความรู้สึกต้องตาต้องใจในสรีระของคนๆ นั้น ไม่ว่าจะต้องเสน่ห์ในความเป็นหญิงกำยำ หรือในความล้านจนขึ้นเงาวับบนหัวเขา มันก็มีส่วนในความรักเหมือนกัน
7. ต้องรู้สึกว่าเราสามารถจะพูดคุยกับคนๆ นั้นได้ทุกเรื่องอย่างเปิดอก สามารถที่จะขุดความรู้สึกส่วนลึกในหัวใจขึ้นมาพูดได้ ไม่ใช่ต้องปิดบังความรู้สึกส่วนนั้นไว้ เพราะกลัวว่าถ้าพูดออกมาแล้ว เราจะอับอาย หรือไม่ก็กลัวว่าเขาได้ยินแล้วจะผงะหงายแล้วเดินหายไปจากชีวิต
8. ต้องรู้สึกว่าคนๆ นั้นเป็นของมีค่าในมือ ถ้าไม่มีเขาสักคนชีวิตของเราก็สูญของมีค่าไป
9. ต้องรู้สึกเต็มใจที่มีส่วนร่วมกับคนๆ นั้นในหลายๆ ด้าน เป็นต้นว่า ความคิด อารมณ์และเวลาแต่ไม่ใช่ร่วมกับเขาไปหมด จนเขาไม่เหลือความเป็นตัวของตัวเอง
10. ต้องรู้สึกอยากมีส่วนร่วมอยากรับฟังทุกอย่าง ไม่ว่าสิ่งนั้นมันเป็นสิ่งที่ดี หรือเป็นสิ่งที่ทุกข์ ที่เรียกว่า ร่วมทุกข์ร่วมสุข เพราะคนที่ต้องการแต่จะร่วมสุข นั่นหมายถึงว่าคุณไม่ได้มีรักแท้กับคนๆ นั้น ถ้ามีครบทุกข้อดังที่กล่าวมา ให้ถือว่ากำลังมีรักแท้โดยสมบูรณ์ แต่ถ้าขาดไปสักข้อสองข้อ ก็ให้โมเมว่ายังเป็นรักแท้อยู่ แต่ถ้ามีเพียงหนึ่งหรือสองข้อในจำนวนทั้งหมดที่กล่าวมา ก็จงอย่าพยายามหลอกตัวเองว่ารักนี้เป็นรักแท้ เพราะไม่เช่นนั้นทั้งสิบคนที่คบอยู่จะเป็นรักแท้ไปหมด แล้วความรักของคุณขณะนี้ล่ะเป็นรักแท้แบบไหน....
การสร้าง blog
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ blogเริ่มต้นสร้าง Web blog ของคุณเอง จากนั้นเล่าเรื่องราวในชีวิตของคุณให้คนอื่นๆได้รับทราบทางโลกออนไลน์เว็บไซต์
Merriam Webstor OnLine
ระบุว่าภายในปี 2004 ที่ผ่านมา คำศัพท์ที่มีผู้คนต้องการรู้ความหมายมากที่สุด เป็นคำที่คนส่วนใหญ่เคยได้ยินมา แต่เพิ่งเข้าใจความหมาย คำๆนี้ก็คือ blog นั่นเอง
ทำไมเดือนกุมภาพันธ์
ที่เดือนกุมภาพันธ์มี 28 หรือ 29 วัน เป็นเพราะว่า การนับปฏิทินระบบของโรมันซึ่งเดือนนี้ใช้กันอย่างสากล แต่เดิมมีทั้งหมดแค่ 10 เดือน ตั้งแต่มีนาคมถึงธันวาคม ทำให้ยังมีวันเหลืออยู่อีก 60 วัน เลยมีการเพิ่มเดือนขึ้นมาอีก 2 เดือน คือ มกราคมและกุมภาพันธ์ ดังนั้นเศษวันจึงไปตกอยู่ที่เดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายตามระเบียบ แต่จู่ ๆ พระเจ้าจูเลียส ซีซ่าร์ก็กลับกำหนดให้เดือนมกราคมเป็นเดือนหนึ่งซะงั้น ถึงมันจะกลายเป็นเรื่องประดักประเดิก
รูปนิ่มเอง
การเขียนภาพการ์ตูน
การเขียนภาพการ์ตูนเป็นสื่ออีกประเภทหนึ่งที่เป็นสื่อในการเรียนการสอน และยังเป็นสื่อที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดจิตนาการได้อย่างสร้างสรรค์
เรื่องเจ้ายักษ์
ทันทีที่เข้าบ้านยักษ์ตนนั่นก็เริ่มกล่าวว่า"นายๆมีอะไรให้ข้าฯทำบ้าง ชายัดฟืนได้มอบหมายงานให้ยักษ์ไปทำความสะอาดบ้านที่รกรุกรัง ตัวเองก็กระหยิ่มใจที่ได้พักขณะที่เขากำลังเอนตัวลงงืบก็ได้ยินเสียงชัดเจนดังข้างหูว่า"นายข้าฯทำความสะอาดเสร็จแล้วมีอะไรให้ข้าฯทำอีก"ชายนายตัดฟืนกวาดสายตาไปมองรอบๆบ้านอย่างไม่เชื่อว่าสายตัวเองบ้านสะอาดหมดจดอยางไม่มีที่ติ เหงื่อเม็ดโป้งผุดขึ้นเต็มหน้าผากเขาแก้ปัญหาจากนั่นเขาได้ให้นายยักษ์ไปตัดฟืนที่เขาทำค้างไว้เป็นงานชิ้นใหญ่พอให้เขาพอมีเวลา จากนั่นชายตัดฟืนได้ไปปรึกษาทานผู้รู้ประจำหมู่บ้านหลังจากฟังคำแนะนำชายตัดฟืนได้กลับถึงบ้าน เจ้ายักษ์เสร็จงานผ่าฟืนพอดี
นายผมผ่าฟืนเสร็จแล้วนายมีอะไรให้ผมทำอีก นำเสียงของเจ้ายักษ์ส่อเลสนัยว่ามันจะได้กินนายตัดฟืนเป็นอาหารแน่ๆชายตัดฟืนเริ่มทำมแผมทันทีเขาส่งให้ยักษ์พาตนไปยังต้นไม้สูงกลางป่า ร ต้นไม้นั่นเขาส่งให้เจ้ายักษ์ใช้ลิดกิ่ง ลิดใบอกจนหมด ต้นไม้สูงต้นนี้จึงดูเหมือนเสาโล้นๆนับจากนี้ไป ชายตัดฟืนกล่าวว่า เมื่อใดที่เจ้ายืนอยู่ที่โค้นต้นไม้งานของเจ้าคือให้ปืนขึ้นไปจนสุดปลายยอดไม้ งานของเจ้าคือปืนลงมายังโค้นต้นไม้คำสั่งสองคำนี้ทำให้เจ้ายักษ์ทำงานเป็นวงจรอันไม่รู้จบ ผลก็คือเมื่อใด ที่ชายตัดฟืนมีงานให้ทำ เขาก็เรียกเจ้ายักษ์มาใช้ ครันเมื่องานเสร็จสิ้นลงเขาก็ใช้ให้เจ้ายักษ์ไปเป็นต้นไม้
ยักษ์วิเศษตนนี้ก็คือความคิดของมนุษย์นั่นเอง ใช่หรือที่ความคิดของมนุษย์เป็นสิ่งที่ความสามารถสูง เป็นสิ่งที่เร็วยิ่ง แต่บอยครั้งที่เราพบเพราะความคิดนี้แหละกลับมาเล่นงานมนุษย์เสียเองบางคนคิดมากจนบั่นทอนสุภาพ บางถึงกลับจบชีวิตตนเองด้วยซ้ำ ก็เพาระเจ้าความคิดนี้เอง ต้นไม้ในนิทานเรื่องนี้ก็คือลมหายใจเรานั่นเอง ซึ่งจะเดินทางขึ้นลง จากปอดขึ้นสู่จมูกลงสู่ปอดเท่านั่น
เรื่องราวดีๆที่เกี่ยวกับตัวฉัน
เรื่องราวดีๆที่เกี่ยวกับตัวฉัน
กันยายน (14)
เกี่ยวกับฉัน
ศิริพร ปานกลาง
อุดรธานี, ภาคอีสาน, Thailand
เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชถัฏหมู่บ้านจอมบึง เรียนชั้นปีที่ 3 เอกคอมพิวเตอร์ศึกษา เรียนวิชา สร้างสื่อการเรียนการสอน อาจารย์ผู้สอน วิวรรธณ์ จันทร์เทพ การเรียนวิชาสร้างสื่อการเรียนการสอนทำให้เราเกิดการเรียนรู้หลายอย่าง เช่น การทำบล็อก การทำสื่อ การเขียนสื่อกราฟิกต่างๆอีกด้วยค่ะ และเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจยิ่งที่ได้เรียนวิชานี้ ทำให้เราเกิดความคิดต่างๆอย่างหลายรูปแบบในการจัดทำบล็อก และการทำบล็อกในครั้งนี้เป็นสิ่งที่มีค่ายิ่งกับตัวดิฉันเองเพราะทำให้เราได้เกิดการเรียนรู้หลายอย่างในการจัดรูปแบบบล็อกต่างๆ
ดูโปรไฟล์ทั้งหมดของฉัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น