รูปน่ารัก

วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2550

รูปน่ารัก

นิยามความรัก




นิยามความรัก คือ
ความ*-*บริสุทธิ์
ดุจดั่งน้ำค้าง
กลางสายฝน*-*
ไม่มีสิ่งอื่น ใดมาเจือปน*-*

นอกจากคนสองคนกับหนึ่งใจ*-* *-*

เอกคอมพิวเตร์ศึกษา



เอกคอมพิวเตอร์ไปนิทรรศการที่วัดหนองหอย

ดีใจที่สุดที่ได้เรียนวิชาการสร้างสื่อการเรียนนการสอน

ทำให้หนูได้เกิดการเรียนรู้ด้วยนเองและทำให้มีประสบกรณ์มากขึ้น และการเรียนที่ดีนั่นเป็นการที่เราได้ฝึกประสบการณ์ด้วยนเองค่ะ

การทอเสื่อ












เลือกขนาดของฟืมให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ นำฟืมไปตั้งในโฮงที่จะทอแล้วตั้งให้ได้ระดับ ระยะห่างจากเหล็กตีนเสื่อประมาณ 2 ฟุต นำเชือกไนลอนมาขึงจามริมฟืมซี่แรก จะเริ่มจากด้านซ้าย หรือขวาก่อนก็ได้แล้วแต่ถนัด การขึงเชือกใช้คน 2 คน คนหนึ่งนั่งอยู่ที่หัวเสื่อคอยมัดเชือกที่ขึงให้ตึง และแน่น อีกคนนั่งอยู่ตีนเสื่อคอยสอดเชือกเข้ากับเหล็กตีนเสื่อ ใช้เชือกสอดเข้าไปในรูฟืมที่เจาะไว้ เป็นสองแถว แล้วดึงปลายเชือกไปเกาะติดกับตะปูที่เราตอกงอไว้ติดกับไม้อีกท่อนหนึ่ง แล้วยึดกันให้แน่น เชือกดึงให้ยาวตามความยาวของเสื่อ พรมนำใส่กกที่จะทอ


ในการทอเสื่อจะใช้คน 2 คน คนแรกเป็นคนทอ อีกคนหนึ่งเป็นคนคอยสอดเส้นกก กกที่นำมาทอจะใส่ถุงพลาสติกเพื่อให้กกนิ่มและทอได้แน่น การทอคนทอจะต้องคว่ำฟืมเพื่อให้มีช่องว่างสำหรับสอดกก คนสอดจะสอดเส้นกกโดยแนบส่วนหัวของเส้นกกกับไม้สอด สอดไปตามช่องระหว่างเชือกที่แยกออกจากกันขณะที่คว่ำฟืม พอสอดไปสุดริมเชือกอีกข้างดึงไม้สอดกลับคืนคงเหลือแต่เส้นกก คนทอก็กระทบฟืมเข้าหาตัวแล้วคนทอก็หงายฟืม คนสอดก็ใช้ส่วนปลายของเส้นกกแนบกับไม้สอด สอดกกเข้าไปอีก คนทอก็กระตุกฟืมเข้าหาตัว แล้วไพริมเสื่อทางด้านซ้ายมือ การไพริมเสื่อ คือ การใช้ปลายกกม้วนงอลงแล้วสอดพับเชือกขัดไว้ให้แน่น ต่อไปคว่ำฟืม ไพริมเสื่อทางด้านขวามือ ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้ขนาดตามที่ต้องการ ในขณะทอหากต้องการให้การทอง่ายยิ่งขึ้นให้ใช้เทียนไขถูกับเส้นเอ็นที่ขึงไว้ให้ทั่ว เพื่อที่จะให้เอ็นลื่นไม่ฝืด ตัดริมเสื่อทั้งสองด้านให้เรียบร้อย เสื่อจะมีความสวยงามมากยิ่งขึ้น ใช้มีดตัดเชือกเอ็นทางตีนเสื่อเพื่อให้เสื่อออกจากโฮง มัดเอ็นที่ปลายเสื่อ เพื่อเป็นการป้องกันเสื่อรุ่ย นำเสื่อที่ทอเสร็จแล้วผึ่งแดดไว้จนแห้งสนิท จึงพับเก็บไว้จำหน่ายหรือแปรรูปต่อไป
การทอเสื่อที่สวยงามนั่นต้องใช้คามปราณีตและความอดทนสูงเพราะการทอเสื่อต้องใช้ระยะเวลาในการทอมาก จึงจะได้เสื่อที่สวยงามมาก และอีกอย่างหนึ่งก็คือการใช้สีในการใส่ลวยลายให้เกิดสีสรรค์สวยงามตามใจผู้ทำ












วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2550

...” หอแสดงผ้าไทยพื้นบ้าน ” สืบสานตำนาน





ภาพตึกแดงในรอบรั้วพระที่นั่งอภิเศกดุสิตในวันนี้ ได้เปลี่ยนจากอาคารที่ไม่ได้ใช้งานสำคัญใดๆ มาเป็นหอแสดงผ้าไทยพื้นบ้าน เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ 12 สิงหาคม 2547 ภายใต้การดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อการอนุรักษ์ผ้าทอของไทย และเพื่อเผยแพร่คุณค่าและความสวยงามของผ้าไทยพื้นบ้าน ให้ทั้งคนไทยและต่างชาติได้รู้จักเพื่อเป็นการแนะนำให้ประชาชนได้รู้จัก งานนี้ไกด์กิตติมศักดิ์ นพมาศ มโนลีหกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ลงทุนเป็นผู้นำเที่ยวชม หอแสดงผ้าไทย โดยเริ่มต้นจากไฮไลท์ของสถานที่ “โถงเฉลิมพระเกียรติ” เป็นห้องประดิษฐานผ้าทอพระฉายาสาทิศลักษณ์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ขนาดเท่าคนจริง ทอตามภาพต้นแบบที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอัญเชิญมาเป็นภาพประธานในธนบัตรที่ระลึก เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ทั้งนี้ ภายในห้องยังประกอบด้วยพระราชกรณียกิจและรางวัลที่นานาชาติทูลเกล้าฯ ถวาย อย่างเช่น รางวัลหลุยส์ ปาสเตอร์ ที่เทิดพระเกียรติคุณที่พระองค์ทรงมีต่อวงการหม่อนไหมของโลกนพมาศเอ่ยถึงผ้าทอผืนพิเศษผืนนี้ว่า “สำหรับผ้าทอผืนนี้ชาวบ้านจากจังหวัดแพร่ นำโดย อาจารย์โกมล พานิชภัณฑ์ ใช้เทคนิคของมัดหมี่ทุกอย่างในการทอ ไม่ว่าจะเป็นการขิด จก ทำลายน้ำไหล โดยใช้เวลาทอ 3-4 เดือน”ปีกด้ายซ้ายและขวาของโถงเฉลิมพระเกียรติ เป็นห้องแสดงผ้าไทยจากภูมิภาคต่างๆ ที่มีทั้งผ้าไทยจากภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามลำดับ นอกจากนั้นหอแสดงผ้าไทยแห่งนี้ ยังจัดแสดงผ้าของชนชาติต่างๆ ของไทย และชนชาติไทในเอเชีย“หอแสดงผ้าไทยแห่งนี้ ได้รวบรวมผ้าเก่าแก่พื้นบ้านของไทย ตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไปจนถึง 100 กว่าปี มีผ้าทั้งหมดอยู่ 200 กว่าผืน ซึ่งผ้าที่เก่าแก่ที่สุด เป็นผ้าของภาคใต้ ซึ่งมีอายุตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ของลูกหลานเจ้าคุณปัตตานี แม้จะยังมีรอยเคยใช้แต่ก็ยังมีสภาพสมบูรณ์” นพมาศกล่าวขณะที่นำชมห้องหับต่างๆ ไปเรื่อยๆผ้าที่นำมาจัดแสดงในหอผ้าแห่งนี้ แม้จะเป็นผ้าที่มีอายุเก่าแก่ แต่บางผืนก็ต้องทำขึ้นมาใหม่เพราะหายาก โดยเฉพาะ ผ้าไทยจากภาคใต้ เช่น ผ้ายกทองนครศรีธรรมราช ที่หายาก สวยและราคาแพงมากสิ่งที่สร้างความแตกต่างให้กับหอแสดงผ้าไทยของที่นี่กับที่อื่นนั้น คงเป็นการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยอธิบาย และสร้างจุดสนใจให้กับผู้ที่เข้าชม ไม่ว่าจะเป็นวิดีโอพระราชกรณียกิจของสมเด็จฯ, ซอฟต์แวร์ สไลด์โชว์ ประกอบทำนองดนตรีที่เป็นการแสดงผ้าจากจอภาพ, ภาพประกอบการเคลื่อนไหว (Magic Vision) แสดงวิธีการนุ่งผ้าไทยของทั้งชายและหญิงพร้อมเสียงบรรยายจากทั้งสองฝ่าย, คอมพิวเตอร์ แทรคบอล เพื่อใช้สืบค้นข้อมูล ซึ่งแบ่งเป็นหัวข้อจัดแสดงเป็นหมวดๆ และเกมคอมพิวเตอร์เพื่อให้ผู้ชมสนุกสนานในการจับคู่ผ้า ต่อลายผ้านอกจากผ้าทอผืนสวยและหายากแล้ว หอแสดงผ้าไทยแห่งนี้ยังจัดแสดงวิวัฒนาการของการทอผ้า เส้นใยจากพืชหรือสัตว์ อุปกรณ์การทอผ้า เทคนิคการทอผ้า เพื่อให้ผู้ที่เข้ามาร่วมชมได้รับความรู้เต็มเปี่ยม ผู้สนใจสามารถร่วมชมและศึกษาผ้าไทยพื้นบ้านได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป- - -- - -- - - - - - - - - - -- - - - - - -- ข่าวและภาพบางส่วน จาก : ผู้จัดการออนไลน์ 20 พฤษภาคม 2548

การสร้างสื่อการเรียนการสอน


การสร้างสื่อการเรียนการสอน
ความหมายของสื่อการสอน นักวิชาการในวงการเทคโนโลยีทางการศึกษา โสตทัศนศึกษา และวงการการศึกษา ได้ให้คำจำกัดความของ “สื่อการสอน” ไว้อย่างหลากหลาย เช่น

ชอร์ส กล่าวว่า เครื่องมือที่ช่วยสื่อความหมายจัดขึ้นโดยครูและนักเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เครื่องมือการสอนทุกชนิดจัดเป็นสื่อการสอน เช่น หนังสือในห้องสมุด โสตทัศนวัสดุต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สไลด์ ฟิล์มสตริป รูปภาพ แผนที่ ของจริง และทรัพยากรจากแหล่งชุมชน

บราวน์ และคณะ กล่าวว่า จำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจนเกิดผลการเรียนที่ดี ทั้งนี้รวมถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุหรือเครื่องมือเท่านั้น เช่น การศึกษานอกสถานที่ การแสดง บทบาทนาฏการ การสาธิต การทดลอง ตลอดจนการสัมภาษณ์และการสำรวจ

เปรื่อง กุมุท กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ครูวางไว้ได้เป็นอย่างดี


ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ให้ความหมาย สื่อการสอนว่า วัสดุอุปกรณ์และวิธีการประกอบการสอนเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายที่ผู้สอนประสงค์จะส่ง หรือถ่ายทอดไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ ยังมีคำอื่น ๆ ที่มีความหมายใกล้เคียงกับสื่อการสอน เป็นต้นว่า


สื่อการเรียน หมายถึง เครื่องมือ ตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ ที่จะมาสนับสนุนการเรียนการสอน เร้าความสนใจผู้เรียนรู้ให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจดีขึ้น อย่างรวดเร็ว


สื่อการศึกษา คือ ระบบการนำวัสดุ และวิธีการมาเป็นตัวกลางในการให้การศึกษาความรู้แก่ผู้เรียน


โสตทัศนูปกรณ์ หมายถึง วัสดุทั้งหลายที่นำมาใช้ในห้องเรียน หรือนำมาประกอบการสอนใด ๆ ก็ตาม เพื่อช่วยให้การเขียน การพูด การอภิปรายนั้นเข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น


ความสำคัญของสื่อการสอน


ไชยยศ เรืองสุวรรณ กล่าวว่า ปัญหาอย่างหนึ่งในการสอนก็คือ แนวทางการตัดสินใจจัดดำเนินการให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมขึ้นตามจุดมุ่งหมาย ซึ่งการสอนโดยทั่วไป ครูมักมีบทบาทในการจัดประสบการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านเนื้อหาสาระ หรือทักษะและมีบทบาทในการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนการสอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียนแต่ละคนด้วยว่า ผู้เรียนมีความต้องการอย่างไร ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบนี้ การจัดสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อการเรียนการสอนจึงมีความสำคัญมาก ทั้งนี้เพื่อสร้างบรรยากาศและแรงจูงใจผู้เรียนให้เกิดความอยากเรียนรู้และเพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าหาความรู้ของผู้เรียนได้ตามจุดมุ่งหมาย สภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ทั้งมวลที่จัดขึ้นมาเพื่อการเรียนการสอนนั้น ก็คือ การเรียนการสอนนั่นเอง

แบบจำลองของการสื่อสาร





แบบจำลองของการสื่อสาร
แบ่งตามแนวคิดได้ดังนี้
แลสแวลล์ (Lasswell)
เป็นนักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกันที่ได้ทำการวิจัยในเรื่องการสื่อสารมวลชนไว้ ในปี ค.ศ. 1948 และได้คิดสูตรการสื่อสารที่ถึงพร้อมด้วยกระบวนการสื่อสารที่สอดคล้องกัน โดยในการสื่อสารนั้นจะต้องตอบคำถามต่อไปนี้ให้ได้คือ

สูตรการสื่อสารของแลสแวลล์เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายและเป็นที่นิยมใช้กันทั่วไปโดยสามารถนำมาเขียนเป็นรูปแบบจำลองและเปรียบเทียบกับองค์ประกอบของการสื่อสารได้ดังนี้

เปรียบเทียบการสื่อสารของแลสแวลล์กับองค์ประกอบของการสื่อสาร

ในการที่จะจัดให้การเรียนการสอนเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพดีนั้น เราสามารถนำสูตรของแลสแวลล์มาใช้ได้เช่นเดียวกับการสื่อสารธรรมดา (Coppen 1974:15-17) คือ
1. ใคร (Who) เป็นผู้ส่งหรือผู้ทำการสื่อ
2. พูดอะไร ด้วยวัตถุประสงค์อะไร (Says what, with what purpose) เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาข่าวสารที่ส่ง
3. โดยใช้วิธีการและช่องทางใด (By what means, in what channel) ผู้ส่งทำการส่งข่าวสารโดยการพูด การแสดงกิริยาท่าทาง ใช้ภาพ ฯลฯ หรืออาจจะใช้อุปกรณ์ระบบไฟ
4. ส่งไปยังใคร ในสถานการณ์อะไร (To whom, in what situation) ผู้ส่งจะส่งข่าวสารไปยังผู้รับเป็นใครบ้าง เนื่องในโอกาสอะไร
5. ได้ผลอย่างไรในปัจจุบันและอนาคต (With what effect, immediate and long term?) การส่งข่าวสารนั้นเพื่อให้ผู้รับฟังผ่านไปเฉย ๆ หรือจดจำด้วยซึ่งต้องอาศัยเทคนิควิธีการที่แตกต่างกัน
เบอร์โล (Berlo)

เป็นผู้คิดกระบวนการของการติดต่อสื่อสารไว้ในลักษณะรูปแบบจำลอง S M C R Model (ดังรูป) (Berlo 1960:40-71) อันประกอบด้วย
1. ผู้ส่ง (Source) ต้องเป็นผู้ที่มีทักษะความชำนาญในการสื่อสาร โดยมีความสามารถใน "การเข้ารหัส" (encode) เนื้อหาข่าวสาร มีทัศนคติที่ดีต่อผู้รับเพื่อผลในการสื่อสาร มีความรู้อย่างดีเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารที่จะส่ง และควรจะมีความสามารถในการปรับระดับของข้อมูลนั้นให้เหมาะสมและง่ายต่อระดับความรู้ของผู้รับ ตลอดจนพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับผู้รับด้วย
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message) เกี่ยวข้องทางด้านเนื้อหา สัญลักษณ์ และวิธีการส่งข่าวสารนั้น
3. ช่องทางในการส่ง (Channel) หมายถึง การที่จะส่งข่าวสารโดยการให้ผู้รับได้รับข่าวสารข้อมูลโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 หรือเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง คือ การได้ยิน การดู การสัมผัส การลิ้มรส หรือการได้กลิ่น
4. ผู้รับ (Receiver) ต้องเป็นผู้มีทักษะความชำนาญในการสื่อสาร โดยมีความสามารถใน "การถอดรหัส" (decode) สาร เป็นผู้ที่มีทัศนคติ ระดับความรู้ และพื้นฐานทางสังคมวัฒนธรรมเช่นเดียวหรือคล้ายคลึงกันกับผู้ส่งจึงจะทำให้การสื่อความหมายหรือการสื่อสารนั้นได้ผล

ตามลักษณะของ S M C R Model นี้ มีปัจจัยสำคัญที่มีความสำคัญต่อขีดความสามารถของผู้ส่งและผู้รับที่จะทำให้การสื่อความหมายนั้นได้ผลสำเร็จหรือไม่เพียงใด ได้แก่
1.ทักษะในการสื่อสาร (Communication Skills) หมายถึง ทักษะซึ่งทั้งผู้ส่งและผู้รับควรจะมีความชำนาญในการส่งและการรับสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจกันได้อย่างถูกต้อง
2. ทัศนคติ (Attiudes) เป็นทัศนคติของผู้ส่งและผู้รับซึ่งมีผลต่อการสื่อสาร ถ้าผู้ส่งและผู้รับมีทัศนคติที่ดีต่อกันก็จะทำให้การสื่อสารได้ผลดี ทั้งนี้เพราะทัศนคติย่อมเกี่ยวโยงไปถึงการยอมรับซึ่งกันและกันระหว่างผู้ส่งละผู้รับด้วย
3. ระดับความรู้ (Knowledge Levels) ถ้าผู้ส่งและผู้รับมีระดับความรู้ที่เท่าเทียมกันก็จะทำให้การสื่อสารนั้นลุล่วงไปด้วยดี แต่ถ้าหากความรู้ของผู้ส่งและผู้รับมีระดับที่แตกต่างกัน ย่อมจะต้องมีการปรับความยากง่ายของข้อมูลที่จะส่งในด้านของความยากง่ายของภาษาและถ้อยคำสำนวนที่ใช้
4. ระบบสังคมและวัฒนธรรม (Socio-Culture Systems) ระบบสังคมและวัฒนธรรมในแต่ละชาติเป็นสิ่งที่มีส่วนกำหนดพฤติกรรมของประชาชนในชาตินั้น ซึ่งเกี่ยวข้องไปถึงขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติ สังคมและวัฒนธรรมในแต่ละชาติย่อมมีความแตกต่างกันไป

แชนนันและวีเวอร์ (Shannon and Weaver)
ได้คิดรูปแบบจำลองของการสื่อสารขึ้นในลักษณะของกระบวนการสื่อสารทางเดียวเชิงเส้นตรง (Shannon and Weaver 1949:7) (รูปที่ 1) กระบวนการนี้เริ่มด้วยผู้ส่งซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลทำหน้าที่ส่งเนื้อหาข่าวสารเพื่อส่งไปยังผู้รับ โดยผ่านทางเครื่องส่งหรือตัวถ่ายทอดในลักษณะของสัญญาณที่ถูกส่งไปในช่องทางต่าง ๆ กันแล้วแต่ลักษณะของการส่งสัญญาณแต่ละประเภท เมื่อทางฝ่ายผู้รับได้รับสัญญาณแล้ว สัญญาณที่ได้รับจะถูกปรับให้เหมาะสมกับเครื่องรับหรือการรับเพื่อทำการแปลสัญญาณให้เป็นเนื้อหาข่าวสารนั้นอีกครั้งหนึ่งให้ตรงกับที่ผู้ส่งส่งมา ในขั้นนี้เนื้อหาที่รับจะไปถึงจุดหมายปลายทางคือผู้รับตามที่ต้องการ แต่ในบางครั้งสัญญาณที่ส่งไปอาจถูกรบกวนหรืออาจมีบางสิ่งบางอย่างมาขัดขวางสัญญาณนั้น ทำให้สัญญาณที่ส่งไปกับสัญญาณที่ไดรับมีความแตกต่างกัน เป็นเหตุทำให้เนื้อหาข่าวสารที่ส่งจากแหล่งข้อมูลไปยังจุดหมายปลายทางอาจจะผิดกันไป นับเป็นความล้มเหลวของการสื่อสารเนื่องจากข้อมูลที่ส่งไปกับข้อมูลที่ได้รับไม่ตรงกัน อันจะทำให้เกิดการแปลความหมายผิดหรือความเข้าใจในการสื่อสารกันได้
จากรูปแบบจำลองนี้พิจารณาได้ว่า แซนนันและวีเวอร์สนใจว่าเมื่อมีการสื่อสารกัน จะมีอะไรเกิดขึ้นกับข้อมูลข่าวสารที่ส่งไปนั้นไม่ว่าจะเป็นการส่งโดยผ่านอุปกรณ์ระบบไฟฟ้าหรือการส่งโดยใช้สัญญาณต่าง ๆ เช่น เมื่อมีการเปิดเพลงออกอากาศทางสถานีวิทยุ เสียงเพลงนั้นจะถูกแปลงเป็นสัญญาณและส่งด้วยวิธีการ modulation จากสถานีวิทยุไปยังเครื่องรับวิทยุ โดยที่เครื่องรับจะแปลงสัญญาณคลื่นนั้นเป็นเพลงให้ผู้รับได้ยิน ในขณะที่สัญญาณถูกส่งไปจะมีสิ่งต่าง ๆ หลายอย่างมาเป็นอุปสรรคในการส่งโดยการรบกวนสัญญาณนั้นให้เสียไป เราจึงเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า "สิ่งรบกวน" (Noise Source) เช่น ในการส่งวิทยุระบบ AM สัญญาณจะถูกรบกวนโดยไฟฟ้าในบรรยากาศ หรือในขณะที่ครูฉายภาพยนตร์ในห้องเรียน การรับภาพและเสียงของผู้เรียนจะถูกรบกวนโดยสิ่งรบกวนหลายอย่าง
ชแรมม์ (Schramm)
ได้นำรูปแบบจำลองการสื่อสารลักษณะกระบวนการสื่อสารทางเดียวเชิงเส้นตรงของแซนนันและวีเวอร์มาใช้เพื่อเป็นแนวทางในการอธิบายการสื่อสารที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอน (Schramm 1954 : 116) โดยเน้นถึงวัตถุประสงค์ของการสอน ความหมายของเนื้อหาข้อมูล และการที่ข้อมูลได้รับการแปลความหมายอย่างไร นอกจากนี้ ชแรมม์ยังให้ความสำคัญของการสื่อความมหาย การรับรู้และการแปลความหมายของสัญลักษณ์ ว่าเป็นหัวใจสำคัญของการเรียนการสอน ตามลักษณะรูปแบบจำลองของชแรมม์นี้ การสื่อสารจะเกิดขึ้นได้อย่างดีมีประสิทธิภาพเฉพาะในส่วนที่ผู้ส่งและผู้รับทั้งสองฝ่ายต่างมีวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ความรู้ ฯลฯ ที่สอดคล้องคล้ายคลึงและมีประสบการณ์ร่วมกัน จึงจะทำให้สามารถเข้าใจความหมายที่สื่อกันนั้นได้ ทั้งนี้เพราะผู้ส่งสามารถเข้ารหัสและผู้รับสามารถถอดรหัสเนื้อหาข่าวสารได้เฉพาะในขอบข่ายประสบการณ์ที่แต่ละคนมีอยู่

เนื่องจากในการสื่อสารนั้นเราไม่สามารถส่ง "ความหมาย" (Meaning) ของข้อมูลไปยังผู้รับได้สิ่งที่ส่งไปเป็นเพียง "สัญลักษณ์" (symbol) ของความหมายนั้น เช่น คำพูด รูปภาพ ฯลฯ ดังนั้น เมื่อมีการสื่อสารเกิดขึ้น ผู้ส่งต้องพยายามเข้ารหัสสารซึ่งเป็น "สัญลักษณ์" ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้รับเข้าใจได้โดยง่ายซึ่งสารแต่ละสารจะประกอบด้วยสัญลักษณ์ต่าง ๆ มากมาย โดยที่สัญลักษณ์แต่ละตัวในสารนั้นจะเป็นตัวบ่งบอกถึง "สัญญาณ" (signal) ของบางสิ่งบางอย่างซึ่งจะทราบได้โดยประสบการณ์ของคนเรา ผู้ส่งต้องส่งสัญลักษณ์เป็นคำพูด ภาษาเขียน ภาษามือ ฯลฯ เพื่อถ่ายทอดความหมายของสารที่ต้องการจะส่ง โดยพยายามที่จะเชื่อมโยงเนื้อหาสารเข้ากับประสบการณ์ที่สอดคล้องกันทั้งสองฝ่าย เพื่อให้ผู้รับสามารถแปลและเข้าใจความหมายของสัญลักษณ์เหล่านั้นได้ง่ายในขอบข่ายประสบการณ์ของตน ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ส่งต้องการส่งสารของคำว่า "คอมพิวเตอร์" ให้ผู้รับที่ยังไม่เคยเห็นคอมพิวเตอร์มาก่อน ผู้ส่งต้องพยายามใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการอธิบายด้วยคำพูด ภาพ หรือสัญลักษณ์อื่นใดก็ตามเพื่อให้ผู้รับสามารถเข้าใจและมีประสบการณ์ร่วมกับผู้ส่งได้มากที่สุดเพื่อเข้าใจความหมายของ "คอมพิวเตอร์" ตามที่ผู้ส่งต้องการ

จากรูปแบบจำลองของการสื่อสารทั้ง 4 แบบนี้ อาจสรุปได้ว่า ในการสื่อสารนั้น การที่ผู้ส่งและผู้รับจะสามารถเข้าใจกันได้ดีเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับทักษะ ทัศนคติ ความรู้ และระบบสังคมและวัฒน-ธรรมของทั้งสองฝ่าย ถ้าหากว่าทั้งผู้ส่งและผู้รับมีสิ่งต่าง ๆเหล่านี้สอดคล้องกัน มีประสบการณ์ร่วมกัน ก็จะทำให้การสื่อสารนั้นได้ผลดียิ่งขึ้น ต่างฝ่ายก็มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน และสามารถขจัดอุปสรรคในการสื่อสารระหว่างผู้ส่งและผู้รับออกไปได้